Categories
Uncategorized

หลุมบ่อเล่น Arduino ภาค 1

เราสั่ง Arduino มาเล่น เราได้พบหลุมบ่อเพียบเลย เราจะเล่าให้ฟังคร่าวๆ

  1. บอร์ดมีหลายแบบ สำหรับหัดเล่นควรเริ่มที่ UNO R3, หรือ MEGA 2560 R3 นับว่าใช้ได้
  2. ความแตกต่างของบอร์ด มีนิดหน่อย ต่างกันที่ตำแหน่ง pin
  3. บอร์ดมีแท้ กับเทียม ไม่มีปลอม ของเทียมใช้ได้เหมือนของแท้
  4. บอร์ดมีตัวต่อเสริม เรียกว่า shield ส่วนมากเป็น motor shield ไว้ไฟเลี้ยงเพิ่มกับมอเตอร์
  5. ซื้อเคสใส่ก็ดี
  6. สาย jump มีทั้งแบบ F-F F-M และ M-M แรกๆ ใช้ M-M หลังๆ ใช้ F-F มีหลายๆ เส้นก็ดี
  7. ตัว sensors ที่ซื้อมาชุดใหญ่ บางทีก็ใช้ยาก ต้องค้นหาว่าใช้ตัวไหนกับ Library ไหน หากเป็นของแท้เรียกว่าชุด Adafruit
  8. ขา SDA, SCL มันใช้คู่กัน คือ Serial Data, Serial Clock
    เป็นระบบสื่อสารแบบ I2C (Inter Integrate Circuit Bus)
    ข้อดีคือ เชื่อมอุปกรณ์ได้หลายตัว โดยใช้สายแค่ สองเส้น
    (ลองค้น connect multiple i2c device)
  9. ภาษา C มีความน่าเบื่อในการแปลง datatype
  10. ฝึกซ้อมกับ tcc ใช้พื้นที่น้อย

สำหรับ NodeMCU

  1. NodeMCU คือ Firmware ซึ่งรองรับภาษา LUA
  2. ESP8266 คือ Hardware
  3. มี Firmware ดั้งเดิมของ ESP8266 คือ AT command
  4. การ Flash ใช้เวลานาน ไม่ค่อยเหมาะจะพัฒนาด้วย Arduino IDE สักเท่าไร
  5. สามารถใช้ภาษา micropython หรือ lua เพื่อสั่งงานได้ ขึ้นกับ firmware อีกแล้ว